วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างปัญหาของเด็ก Work and Travel


ตัวอย่างสำหรับผู้ที่จะมาโครงการ Work and Travel ปัญหาจุกจิกมี

เยอะ... โดยเฉพาะปัญหากับนายจ้าง เด็กเวริ์ค (เพื่อนๆ หลายคน) จะปะฉะดะกับนายจ้างเสมอ เช่น หักภาษีบางชนิด จ่ายเงินน้อยกว่าการทำงาน ทำงานไม่เป็นเวลา งานน้อยเงินน้อย ช่วงหน้า Low season ไม่มีคนมาเที่ยว ก็ไม่มีงาน บางคนต้องกลับบ้านไป หรือไม่ก้อหางานอื่นแทน 


ปัญหาเรื่อง Work & Travel จะเป็นคล้ายๆ กันแบบนี้ แต่ส่วนใหญ่ได้ประสบการณ์มาก หลายคนบอกว่าคุ้ม ถึงจะขาดทุน เท่าทุน ได้กำไรนิดหน่อยก็เหอะ แต่คุ้ม
ครั้งหนึ่งเคยมีข่าวนักศึกษาที่ไป Work & Travel 13 คน สาวๆ ทั้งนั้น มีปัญหาที่พักและการทำงาน อยู่แมรี่แลนด์ ใกล้วอชิงตันดีซี
ที่อยู่อาศัย : เด็กอยู่กัน 13 คน ห้องละ 4-5 คน (เพิ่มเติม อยู่กันได้เพราะเตียงสองชั้น ห้องละ 2-3 เตียง) ห้องครัวเล็กกว่าส้วมโรงแรม เจ้าของบ้านอยู่ชั้นบนสุด เหม็นมากๆ

ค่าเช่า : เด็ก ๆต้องจ่าย อาทิตย์ละ $80.00 ต่อคน เดือนละ $320.00 ค่ามัดจำอีก $150.00 เด็กต้องเสียเดือนแรก $450.00 ห้องเก็บเสื้อผ้าไม่มี เสื้อผ้าต้องกองไว้ที่พื้นเต็มไปหมด
การทำงาน : บางคนได้ชั่วโมงน้อยกว่าที่ตกลงก่อนมา บริษัทหางานให้ไม่ได้ ที่ทำงานไกล
เด็กๆ ที่เข้าร่วม : ล้วนแต่มีสตางค์ พ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกๆ มาอยู่กันแบบนี้
สิ่งที่หลายคนเห็นตามสื่อ : สถานะการณ์เลวร้ายต่างๆ เด็ก ๆ มักจะไม่พูดถึงหรือบอกให้เพื่อน ๆ รู้ จะเอาสิ่งที่ดีแค่ฉากเดียวไปบอกเพื่อน เช่นมีถ่ายภาพกับสิ่งสวย ๆ แล้วโพสต์ในเฟซบุ๊ค จนมีเพื่อนทางเมืองไทยตอบไปว่า อยากจะไปด้วย ซึ่งความจริงไม่เป็นอย่างนั้น

ข้อมูล (ข้างบน) จากไทยทาวน์ทูเดย์ และภาพจากอินเตอร์เน็ต

ส่วนอีกปัญหาที่คล้ายกัน  นอกจากเด็กเวริ์คแล้ว ก็มีที่อยู่อาศัยของนักเรียนต่างชาติที่ประเทศออสเตรเลีย  กระจุกกันอยู่คับแคบแออัด ทรมาน  แต่ต้องอยู่  เพราะที่พักอยู่ในเมือง

ในอเมริกา เด็กที่ไป Work and Travel ก็ประสบปัญหาแบบนี้บ่อย เจ้าของบ้านจะปล่อยให้พวกรัสเซียเป็นนายหน้า เก็บค่าเช่า และยัดนักเรียนอยู่กันห้องละ 4 คน เด็กเวริ์คอยู่ได้นะ แค่ 4 เดือน แต่คนที่อยู่นานๆ ลำบากเรย พวกนี้เอาเปรียบมาก เงินเราก็จ่ายเท่ากับคนปกติเช่า ควรจะได้ห้องละไม่เกิน 2-3 คน นายหน้ารัสเซียพวกนี้ยัดนักเรียนต่างชาติไทย ยูเครน ตุรกี มอลโดวา แอฟริกัน ฟิลิปปินส์ ผสมมั่วหมด ขอให้ได้ตังค์

.........................................................................................................

เมลเบิร์นเจอปัญหาสลัมบนตึกสูง ธุรกิจให้เช่าผิดกฎหมายเปิดกันดาษดื่น



สลัมบนอาคารสูง  เปิดให้เช่าที่พัก 7 ถึง 8 คนต่อห้องในเมลเบิร์น
สลัมบนอาคารสูง เปิดให้เช่าที่พัก 7 ถึง 8 คนต่อห้องในเมลเบิร์น
21 มิ.ย. 2015 ที่อยู่อาศัยบนอาคารสูงในนครเมลเบิร์นอย่างน้อย 80 แห่งได้ถูกใช้เป็นแหล่งธุรกิจให้เช่าที่อยู่อาศัยอย่างผิดกฎหมาย โดยมีเหยื่อเป็นนักศึกษาต่างชาติ ด้วยการให้เช่าพื้นที่ขนาดพอวางเตียงนอนเดี่ยว (single bed) ในอัตราสัปดาห์ละ 140 เหรียญ
ภายใต้กฎหมายของรัฐวิกตอเรียจะถือเป็นความผิดตามกฎหมายหากทำการแยกผู้ให้เช่าที่พักอาศัยมากกว่า 3 คนขึ้นไปโดยปราศจากการจดทะเบียนให้เช่าห้องพัก (room) แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับพบว่ามีการเสนอให้เช่าเตียงที่พัก (bed) จำนวนหลายรายในเว็บไซท์ Gumtree
เป็นต้นว่า อพาร์ทเมนท์ขนาดหนึ่งห้องนอนของอาคารที่ย่าน Docklands ถูกพบว่าเสนอให้เช่าเตียงถึง 6 เตียง โดยมีเตียงสองชั้น จำนวน 4 เตียงอยู่ในห้องนอน และเตียงสองชั้นอีก 2 เตียงอยู่ภายในห้องนั่งเล่นเล็ก ๆ ด้วยการแชร์ร่วมกับนักศึกษาหญิงจากประเทศต่าง ๆ ให้เช่าในอัตราเตียงละ 140 เหรียญต่อสัปดาห์
ที่อาคาร Russell Place Tower ได้โฆษณาหานักศีกษาเช่า 3 คนร่วมกันแชร์ที่พักภายในห้องรับแขกในอัตรา 99 เหรียญต่อสัปดาห์ แต่ระบุผู้เช่าต้องเป็นคนเอเชีย ด้วยเหตุผลของความมีวัฒนธรรมเดียวกัน
โฆษณาให้เช่าเตียงนอนในนครเมลเบิร์นที่ปรากฎในเว็ปไซท์ Gumtree จะพบว่าเมื่อโฆษณาเดิมถูกถอนออกไป จะโฆษณาใหม่จะเข้ามาแทนที่ โดยจะมีโฆษณาไม่ต่ำกว่า 10 โฆษณาในทุกเวลา
ห้องเช่าในระดับที่ให้คุณภาพดีขึ้นมาหน่อย ด้วยการรับอยู่อาศัยน้อยลง เป็นโฆษณาให้เช่าอพาร์ทเมนท์ขนาด 2 ห้องนอนที่เลขที่ 350 ถนน William St.   โดยเสนอให้เช่าจำนวน 6 คนในอัตราคนละ 165 เหรียญต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังเป็นการให้เช่าโดยไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน
แลนด์ลอร์ดรายนี้ ถูกพบว่าได้ลงทุนในอพาร์ทเมนท์จำนวน 9 แห่ง ด้วยการให้เช่าภายใต้ชื่อแตกต่างกัน 3 ชื่อ แต่ใช้โทรศัพท์หมายเลขเดียวกัน
เจ้าหน้าที่ยังเชื่อว่าการทำธุรกิจให้เช่าที่อยู่อาศัยอย่างผิดกฎหมายในเมลเบิร์นกระทำโดยผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ การโฆษณาหาลูกค้ายังรวมถึงการใช้เว็ปไซท์ภาษาต่างประเทศ ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการสืบสวนสาวไปถึงตัวผู้กระทำผิดความผิดกฎหมายที่แท้จริง
ผู้เช่าซึ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่า พวกเขาจ่ายเงินให้กับใคร เพราะแลนด์ลอร์ดได้กำหนดให้ชำระค่าเช่าด้วยการนำเงินย่อนไว้ในตู้จดหมายนิรภัยหรือมีผู้ทำหน้าที่ดูแลและซ่อมแซมที่พักเป็นผู้เก็บค่าเช่าแทน
สำนักงานดับเพลิงนครหลวง (MFB) กล่าวว่า เหตุการณ์เพลิงไหม้อพาร์ทเมนท์ครั้งใหญ่ในย่าน Docklands ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้นเพลิงมาจากห้องเช่าที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น   สิ่งของและเสื้อผ้าของพวกเขาได้กลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว และถือเป็นโชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต
นอกจากนั้นยังมีข้ออ้างว่า หลังจากเพลิงไหม้แล้ว อาคารที่พัก Lacrosse บริเวณใกล้เคียงกันได้เสนอให้เช่าเตียงในระบบเป็น “กะ” ผลัดกันเข้านอน แบบขูดรีดเอากับนักศีกษาต่างชาติที่ไม่มีทางเลือก
โฆษกหญิงของเทศบาล Melbourne City กล่าวว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของเทศบาลต้องประสบความยุงยากในการกวาดล้าง เนื่องจากการเข้าตรวจแต่ละครั้งต้องมีหมายขอตรวจค้น แล้วยังพบอุปสรรคนานาชนิด เช่นในเรื่องของลิฟท์แทบทุกอาคารเป็นระบบเซคคิวริตี้ล็อค, หากสามารถไปถึงห้องที่ให้เช่าก็พบว่าห้องถูกล็อคปิดตาย, รวมถึงเจ้าหน้าที่ถูกข่มขู่จะทำร้ายเป็นต้น
นอกจากนั้นผู้เช่ายังไม่ให้ความร่วมมือ   เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่พักอย่างถูกกฎหมายที่มีอัตราค่าเช่าส่วนใหญ่ 250 เหรียญต่อสัปดาห์ขึ้นไป
โฆษกหญิงกล่าวว่า ขณะนี้มีที่พักในย่านธุรกิจใจกลางเมือง (CBD) เพียง 9 แห่งที่มาขอจดทะเบียนรับผู้เช่าเกินกว่า 3 ราย และในส่วนอื่น ๆ ของเขตเทศบาล Melbourne City อีก 61 แห่งเท่านั้น
 โฆษณาในเว็ปไซท์ Gumtree ให้เช่าเตียงในห้องนั่งเล่น อยู่รวมกับผู้อื่นอีก 5 คนในอพาร์ทเมนท์ในราคาคนละ 120 เหรียญต่อสัปดาห์
โฆษณาในเว็ปไซท์ Gumtree ให้เช่าเตียงในห้องนั่งเล่น อยู่รวมกับผู้อื่นอีก 5 คนในอพาร์ทเมนท์ในราคาคนละ 120 เหรียญต่อสัปดาห์

ข้อมูลจากเว็บนี้คลิกเข้าอ่านเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มได้เลย  คลิกที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์  http://jingjonews.com/ 

ส่วนข้างล่างก็เป็นอีกกรณีหนึ่งของปัญหา เด็กเวริ์ค 

คลิกที่ภาพจะขยายใหญ่  อ่านสบายตา





------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น